วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

               การเข้ามาของอังกฤษในประเทศไทย        
                            ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1  พระยาไทรบุรี คือ อับดุลละ โมกุรัมซะ  ตกลงเซ็นสัญญาให้อังกฤษเช่า  เกาะหมาก (ปีนัง)  และ สมารังไพร ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ตรงข้ามเกาะหมากปีละ  1,000  เหรียญ   ซึ่งดินแดนเหล่านี้อยู่ในความดูแลของไทย  เหตุที่พระยาไทรบุรีให้อังกฤษเช่าดินแดนทั้งสองนี้  ก็เพื่อหวังพึ่งอังกฤษให้พ้นจากอิทธิพลของไทย  แต่อังกฤษก็พยายามผูกมิตรไมตรีกับไทย  โดยให้ ฟรานซิส  ไลท์ (Francis Light)  หรือกัปตันไลท์   นำดาบประดับพลอยกับปืนด้ามเงินมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1   จึงทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า  พระยาราชกปิตัน  ซึ่งเป็นชาวยุโรปคนแรก  ในสมัยรัตนโกสินทร์ที่เข้ารับราชการเป็นขุนนาง  และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์  หลังจากนั้นอังฤษได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อเป็นทางการอีก รวม  3  ครั้ง คือ
                                ครั้งที่ 1  (ในสมัยรัชกาลที่ 2)    ผู้สำเร็จราชการอังกฤษที่อินเดีย คือ  มาร์ควิส เฮสติงส์  (Marquis  Hestiongs)  ได้จัดส่งทูตชื่อ จอห์น  คอรว์ฟอร์ด  (John  Crawford)  ซึ่งคนไทยเรียกว่า การะฝัด  นำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย  ใน พ.ศ. 2365  ขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางการค้ากับไทย  โดยขอให้ไทยยกเลิกการผูกขาดและลดหย่อนภาษีบางอย่าง  และให้ไทยยอมรับอธิปไตยของไทรบุรี  โดยเฉพาะการที่อังกฤษเช่าเกาะหมาก (ปีนัง)  และสมารังไพร  กับขอทำแผนที่ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น เรื่องพันธุ์พืช   พันธุ์สัตว์  และสภาพประชากรของไทย  เพื่อทำรายงานเสนอรัฐบาลอังกฤษ ปรากกวาการเจรจาคราวนี้ไม่ประสบความสำเร็จ  เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้

                               (1)  ทั้งสองฝ่ายไม่เข้าใจภาษากันดีพอ  ต้องใช้ล่ามแปลกันหลายต่อ  ทำให้ความปลายคลาดเคลื่อนไป  ล่ามของทังสองฝ่ายเป็นพวกคนชั้นต่ำพวกกะลาสีเรือ  ทำให้ขุนนางออกรับแขกเมืองไม่นิยมสวมเสื้อ
                              (2)  ครอว์ฟอร์ดไม่พอใจที่ไทยไม่ยอมอ่อนน้อมต่อังกฤษเหมือนพวกชวาและมลายุ  ส่วนไทยก็ไม่พอใจที่อังกฤษแสดงท่าทางเย่อหยิ่งข่มขู่ดุหมิ่นข่มดุหมิ่นไทย  ไม่เหมือนกับพวกจีนที่ปฏิบัติตนอ่อนน้อมยินยอม  ทำตามระเบียบต่างๆ อย่างดี
                             (3) ไทยไม่ยอมตกลงปัญหาดินแดนไทรบุรีที่อังกฤษขอร้อง
                             (4) ครอว์ฟอร์ดทำการสำรวจระดับน้ำตามปากอ่าวไทยเพื่อทำแผนที่  ทำให้ไทยไม่พอใจ  หลังจากนั้นครอว์ฟอร์ดได้ส่งผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำสิงคโปร์เข้ามาเจริญสัมพนธไมตรีต่อไทย  ไทยจึงเริ่มมีการค้าขายกับลอังกฤษมากขึ้น  ถึงกับมีพ่อค้าอังกฤษเข้ามาตั้งร้านค้าในกรุงเทพฯ ชื่อ โรเบิร์ต   ฮันเตอร์ (Robert Hunter)  คนไทยนิยมเรียกว่า นายหันแตร  ซึ่งนับว่าเป็นพ่อค้าชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าขึ้นภายในประเทศไทย  ต่อมานายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอาวุธวิเศษ
                            ครั้งที่ 2  (ตอนต้นรัชกาลที่ 3)     ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  เสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ  นั้นอังกฤษกำลังมีข้อพิพาททำสงครามกับพม่า ลอร์ด แอมเฮิร์สต์ (Lord Amherst)   ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำอินเดียได้ส่งร้อยเอกเฮนรี่  เบอร์นี่ (HenryBerney)  ซึ่งคนไทยเรียกว่า บารนี  เป็นทูตเข้ามาเจรจาขอทำสนธิสัญญากับไทย  จุดมุ่งหมายของอังกฤษในการส่งทูตมาทำสนธิสัญญากับไทยในครั้งนี้ คือ

                                     
   -  เป็นการเจริญพระราชไมตรีและถวายความยินดีในวโรกาสที่ขึ้นครองราชย์
   -  ขอให้ไทยส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่า
   - ต้องการตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีและหัวเมืองมลายู
   - ชักชวนให้ไทยยอมทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ
                          การเจรจาครั้งนี้  สามารถตกลงกันได้  จึงมีการลงนามกันในวันที่  20  มิถุนายน 2369

                        
 สนธิสัญญาเบอร์นี่
                          สนธิสัญญาฉบับนี้นับเป็นสนธิสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยรัตนโกสินทร์  เรียกกันโดยทั่วไปว่า สนธิสัญญาเบอร์นี่  มีสาระสำคัญดังนี้ คือ
                          1.  ไทยกับอังกฤษจะมีไมตรีอันดีต่อกัน  ไม่คิดร้ายหรือรุกรานดินแดนซี่งกันและกัน
                          2. เมื่อเกิดคดีความขึ้นภายในอาณาเขตประเทศไทย  ก็ให้ไทยตัดสินตามกฎหมายและขนบธรรมเนียมและประเพณีของไทย
                          3  ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน  และอนุญาตให้ฝ่ายตรงข้ามเช่าที่ดิน  เพื่อตั้งโรงสินค้า  ร้านค้า หรือบ้านเรือนได้
                         4   อังกฤษยอมรับว่าดินแดนไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู  เประ  เป็นของไทย
                          และมีสนธิสัญญาต่อท้าย  เป็นสนธิสัญญาทางการค้า  มีสาระสำคัญดังนี้  คือ
                         1  ห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศไทย  และห้ามนำข้าวสาร  ข้าวเปลือกออกนอกประเทศไทย
                         2  อาวุธและกระสุนดินดำที่อังกฤษนำมา  ต้องขายให้แก่รัฐบาลไทยแต่ผู้เดียว  ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการต้องนำออกไป
                         3  เรือสินค้าที่เข้ามาต้องเสียภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ
                         4  อนุญาตให้พ่อค้าอังกฤษขายสินค้าทั่วราชอาณาจักร
                         5  ถ้าพ่อค้าหรือคนในบังคับอังกฤษ  พูดจาดุหมิ่นหรือไม่เคารพขุนนางไทย  อาจถูกขับไล่ออกจากประเทศไทยได้ทันที
                         ผลของสนธิสัญยาฉบับนี้  ทำให้ไทยกับอังกฤษมีความผูกมัดซึ่งและกัน  มีความเท่าเทียมกัน  ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน  แต่ไม่เป็นที่พอใจของอังกฤษนัก  เพราะอังกฤษต้องการค้าขายแบบเสรี

                        ครั้งที่ 3  (ตอนปลายรัชกาลที่ 3)   ลอร์ด  ปาลเมอร์สตัน  (Lord Palmerston)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ  ส่ง เซอร์ เจมส์ บรูค (James Brooke)  เป็นทูตมาขอแก้สนธิสัญญากับไทยใน พ.ศ. 2393  โดยขอลดค่าภาษีปากเรือ  ขอตั้งสถานกงสุลในไทย  ขอนำฝิ่นเข้ามาขาย  และขอนำข้าวออกไปขายนอกประเทศ  แต่ขณะนั้นรัชกาลที่ 3  กำลังประชวร  จึงไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้า  สนธิสัญญาเบอร์นีจึงยังมีผลใช้บังคับต่อไปโดยไม่มีการแก้ไข

2 ความคิดเห็น:

  1. Youtube vg - YouTube VR Live Stream - Videodl.cc
    Vg is a channel featuring real video, live games, sports events, a podcast, and sports event. Stream the channel and grab your youtube to mp4 favourite VR video games

    ตอบลบ
  2. Casinos Near Casinos in San Francisco, CA | MapYRO
    Find 울산광역 출장마사지 the closest casinos 사천 출장샵 to San Francisco with MapYRO's interactive 과천 출장마사지 The map displays a barcode 논산 출장안마 or map of any land 화성 출장샵 based casino.

    ตอบลบ